วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

สกลนคร (ผู้จัดการ)


 สกลนครจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนบนเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตามตำนานเล่าว่า สกลนคร หรือที่ในอดีตเรียกว่า เมืองหนองหานหลวงถูกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ยุคที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนแถบนี้ ต่อมา เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองหนองหานหลวงก็ตกไปอยู่ใต้ความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง ที่เรียกชื่อเมืองว่า เมืองเชียงใหม่หนองหานหรือ เมืองสระหลวงเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสกลทวาปีจนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น เมืองสกลนครในปัจจุบัน
สำหรับตราประจำจังหวัดสกลนคร ก็คือ รูปพระธาตุเชิงชุม มีเบื้องหลังเป็นหนองหาน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัด และมีปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัด ที่ว่า พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาน แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
เมื่อมาถึงสกลนคร สิ่งแรกที่ไม่ควรพลาดก็คือการไปสักการะ พระธาตุเชิงชุมที่ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวสกลนคร รวมถึงชาวพุทธทั่วทุกสารทิศ โดยมีความเชื่อว่า หากได้มาบูชาพระธาตุแห่งนี้ จะถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างมาก เนื่องจากเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเยือนถึงสี่พระองค์ ตามความหมายของคำว่าเชิงชุม ที่แปลว่า การมีรอยเท้ามาชุมนุมกันอยู่ ซึ่งหมายถึงรอยพระพุทธบาท 4 รอย ที่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์เสด็จมาพระทับไว้บนแผ่นหิน และเชื่อกันว่าแผ่นหินนั้นถูกเก็บรักษาไว้ใต้บาดาลโดยพญาสุวรรณนาค เพื่อรอพระศรีอริยเมตไตรยมาประทับรอยเป็นองค์สุดท้าย
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าสุวรรณภิงคาร กษัตริย์ที่ครองเมืองหนองหานหลวงในอดีต เป็นผู้สร้างพระธาตุเชิงชุม แต่พระธาตุองค์ที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระธาตุองค์ใหม่ที่สร้างครอบองค์เดิมไว้ ภายในองค์พระธาตุจะมีลักษณะคล้ายถ้ำ และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้หลายองค์ ส่วนที่ด้านหน้าซึ่งเป็นทางเข้าองค์พระธาตุ จะเป็นวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสน ซึ่งพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของสกลนคร
 อีกหนึ่งสิ่งที่เมื่อพูดถึงสกลนครแล้วต้องนึกถึงสถานที่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ หนองหาน” (บ้างสะกดเป็นหนองหาร) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน และใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ (รองจากบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์) เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด นกน้ำ และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศ ภายในหนองหานประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 30 เกาะ เกาะขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะดอนสวรรค์ ส่วนริมฝั่งด้านหนึ่งของหนองหานจัดเป็นสวนสุขภาพขนาดใหญ่ เรียกว่า สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ สระพังทองเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย
สำหรับธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในสกลนครก็คือผืนป่าภูพานที่อยู่ในความดูแลของ อุทยานแห่งชาติภูพานมีเนื้อราว 4 แสนไร่ ช่วยทำให้ฝนตกอย่างสม่ำเสมอและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารสำคัญที่ใช้ในการทำไร่ทำนาของคนสกลนคร (และนครพนม)
ในเขตภูพานมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ที่มีการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างเป็นระเบียบสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย, โค้งปิ้งงู กับถนนโค้งสวยอันคดเคี้ยวไปมาบนเนินเขาที่มีหลักกิโลเมตรยักษ์อดีตหลักกิโลเมตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งโดดเด่น สะดุดตา นอกจากนี้ป่าภูพานยังมี ถ้ำเสรีไทย ผานางเมิน เป็นอีกจุดน่าเที่ยวชม
สกลนครมีชนเผ่าหลักๆที่อาศัยอยู่ 6 ชนเผ่าด้วยกัน แต่ชนเผ่าที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น ชาวภูไทหรือ ผู้ไทที่ถูกนำมาเป็นหนึ่งในคำขวัญจังหวัด
 ชาวภูไท เป็นที่รู้จักกันในเรื่องของความสุภาพนุ่มนวล และความงดงามของสตรีชาวภูไท ดั้งเดิมนั้น ชาวภูไทเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้เฝ้าดูแลพระธาตุเชิงชุม ในช่วงที่มีงานบุญทอดผ้าป่าและฉลององค์พระธาตุ ชาวภูไทก็จะมาร่วมร้องและฟ้อนด้วยลีลาอ่อนช้อนสวยงาม เพื่อร่วมฉลองในงานนั้น จนปัจจุบันก็กลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอันดีงามของชาวสกลนครด้วย
สกลนคร นอกจากจะมีความหลากหลายทั้งสถานที่ท่องเที่ยว และวัฒนธรรมแล้ว ยังได้รับการขนานนามว่าเป็น แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น
  ที่ วัดป่ากลางโนนภู่เป็นสถานที่ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยใช้เป็นที่พักชั่วคราวในช่วงที่ท่านอาพาธเป็นระยะสุดท้าย ก่อนที่จะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จึงจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตขึ้นที่อาคารไม้แห่งนั้น โดยจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารของพระอาจารย์มั่นขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้
ส่วนที่ วัดป่าสุทธาวาสนั้นเป็นวัดป่าที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภายในวัดจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่นเพื่อแสดงประวัติความเป็นมาของท่านเครื่องอัฐบริขาร รูปหล่อพระอาจารย์มั่นในท่านั่งสมาธิ และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกสีใส ส่วนที่บริเวณใกล้กันก็มี พิพิธภัณธ์หลวงปู่หลุย จันทสาโรหรือที่เรียกว่า จันทรสารเจติยานุสรณ์ภายในมีเจดีย์หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่หลุย และเครื่องอัฐบริขารของท่าน และมีการจัดนิทรรศการทางพระพุทธศาสนาด้วย
 และที่ วัดอภัยดำรงธรรมหรือ วัดถ้ำพวงซึ่งพระอาจารย์วัน อุตตโม เป็นผู้สร้างขึ้น ภายในวัดก็มี พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์วัน อุตตโมจัดแสดงประวัติของพระอาจารย์วัน มีรูปปั้นของท่านในท่าขัดสมาธิ และจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร ส่วนบริเวณไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์นัก ก็เป็นที่ตั้งของ สังเวชนียสถาน 4 ตำบลสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งจำลองมาจากประเทศอินเดีย ถือกันว่า หากชาวพุทธคนใดได้ไปกราบไหว้สถานที่เหล่านี้ถึงถิ่นแล้วก็จะถือเป็นสิริมงคลของชีวิต
นอกจากจะเป็นเมืองพุทธแล้ว ส่วนหนึ่งในสกลนครก็มีชุมชนชาวคริสต์ด้วย ซึ่งก็คือ หมู่บ้านท่าแร่ที่เป็นชุมชนเก่าแก่ มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านที่บ้านท่าแร่แทบทุกหลังคาเรือนจะนับถือศาสนาคริสต์ ภายในหมู่บ้านน่ายลไปด้วยอาคารสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสและโบสถ์คริสต์เก่าแก่ โดยเฉพาะกับโบสถ์คริสต์รูปเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทุกๆปีในวันที่ 25 ธันวาคม ชุมชนท่าแร่จะจัด ประเพณีแห่ดาวขึ้น โดยมีความเชื่อว่า ดาวเป็นสัญลักษณ์ของการเสด็จลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซู ในงานจะมีขบวนรถที่ตกแต่งด้วยดวงดาวขนาดใหญ่ ประดับตกแต่งด้วยดวงไฟหลากสีสื่อถึงเรื่องราวการประสูติของพระเยซู จากนั้นก็จะเป็นการเฉลิมฉลองในหมู่ชาวคริสต์
ทางด้านประเพณีที่ขึ้นชื่อของสกลนครอีกงานหนึ่ง ก็คือ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาของทุกปี ตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ คืนก่อนวันแห่ปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มวัดต่างๆ ก็จะนำปราสาทผึ้งของตนเองที่ตกแต่งอย่างสวยงามมาตั้งประกวดกันไว้ ณ สนามมิ่งเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ชมความงามอย่างใกล้ชิด ส่วนในวันขึ้น 14 ค่ำ จะเป็นวันแห่ขบวนปราสาทผึ้งไปตามถนนเทศบาลสู่วัดพระธาตุเชิงชุม ปราสาทผึ้งแต่ละขบวนจะนำมาตั้งไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา ณ บริเวณพระธาตุ และมีการแสดงรำฟ้อน งานเฉลิมฉลองต่างๆ เข้ามาร่วมในงานอีกด้วย
ส่วนของฝากของกินของจังหวัดสกลนครก็มีให้เลือกอยู่ไม่น้อย แต่ที่ขึ้นชื่อลือชา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดไปแล้วก็คงจะเป็น โคขุนโพนยางคำและ ข้าวฮาง
โคขุนโพนยางคำเป็นโคเนื้อลูกผสมไทย-ฝรั่งเศส เกิดขึ้นจากการส่งเสริมของหน่วยงานรัฐให้มีการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของไทยให้ได้รับความสนใจและเป็นอาหารที่ขายได้ จากนั้นก็มีการจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ขึ้นที่บ้านโพนยางคำ อ.เมือง จ.สกลนคร จนกระทั่งในปัจจุบัน โคขุนโพนยางคำเป็นเนื้อโคขุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะอยู่ที่เป็นเนื้อที่มีรสชาติดี มีคุณภาพตามมาตรฐาน และราคาไม่แพง
 ส่วน ข้าวฮางโอท็อปขึ้นชื่อของของสกลนคร เป็นข้าวสารแปรรูปที่เป็นภูมิปัญญาของชาวไทยอีสานมาตั้งแต่เดิม โดยการนำเอาข้าวเปลือกมาแช่น้ำไว้ เพื่อกระตุ้นให้สารอาหารต่างๆ จากเปลือกข้าวซึมเข้าไปในเมล็ดข้าว แล้วจึงนำมานึ่ง เพื่อจัดเก็บสารอาหารให้คงไว้ แล้วนำข้าวเปลือกไปตากให้แห้ง และนำไปสีโดยเครื่องสีข้าวกะเทาะเปลือก ทำให้รำข้าวและเส้นใยอาหารยังอยู่ในเมล็ดข้าวอย่างครบครัน จึงมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวสารทั่วๆ ไป หากว่าซื้อไปเป็นของฝากติดไม้ติดมือให้กับเพื่อนฝูงและคนในครอบครัว ก็จะได้สุขภาพดีกันถ้วนหน้า
ผู้สนใจเที่ยวจังหวัดสกลนคร สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร และข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานนครพนม (ดูแลพื้นที่จังหวัดสกลนคร) โทร. 0-4251-3490
--------------------------------------------------------------------------------------------------


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Rich realize value of giving to charity.


BEIJING, Sept. 27 (Xinhuanet) -- An audience of 6,000 was expected for the concert in Guizhou province, but more than 20,000 attended. The singer topping the bill was no rock star but 43-year-old businessman and high-profile philanthropist, Chen Guangbiao.
Many of the concert-goers might have turned up anyway for the free livestock and farm tools Chen had promised to give out after the Sunday night show in Bijie's city square.
"It was packed. There were fans from Xinjiang, Gansu and Inner Mongolia, holding up posters," Chen said by phone on Monday before catching an afternoon flight to Beijing from Guiyang, the provincial capital.
After the two-hour concert of pop songs, including some he had penned himself, Chen handed over 2,000 pigs, 1,000 sheep and 113 tractors to the Bijie city government, asking that they be given to farmers in need.
"All boars and rams were wearing green flowers, and the sows and ewes were wearing red flowers," Chen said. "I hope people will soon have lambs and piglets at home."
Chen said he will check with the local government in a month's time. "I've asked them to put distribution details online."
After 30 years of unprecedented economic growth, the commercial elite, like Chen, are looking for ways to put their money into the hands of those less fortunate. The methods they choose vary.
In June, Zong Qinghou, ranked by Forbes China as the third richest man in China, told Xinhua News Agency he will set up a family foundation with initial capital of about 2 million yuan ($309,000).
The amount may seem paltry compared with his $5.9 billion in assets, but the founder of one of China's largest beverage companies, Wahaha, also said he will set aside part of the annual bonuses he receives from Wahaha's 150 companies and use it as "a continuous capital" for the foundation.
"Mr. Zong has been nurturing the idea of setting up a family foundation for years," said Shan Qining, director of Wahaha's communication office. He would not provide further details about his boss' new cause.
Ren Shaoying, also from Wahaha's communication office, said this is not the first time the company has been involved with charitable causes. It has already invested 250 million yuan through the Wahaha Foundation to build schools, help those less fortunate and sponsor teachers to teach in western China.
The government's Ministry of Civil Affairs has already approved the foundation.
The new family foundation is to function as an internationally recognized prize, similar to the Nobel Prize, encouraging scientific innovation and offering more educational opportunities to underprivileged people.

'Like spring rain'
The move is seen as a big gesture by 66-year-old Zong, a Hangzhou native who, with many other Zhejiang corporate titans, turned down Warren Buffett and Bill Gates' charity dinner invitation in September.
The two most widely known and admired Westerners in China came here with a mission to encourage philanthropy among the nouveau riche. They didn't make the guest list public, but Zong later admitted publicly that he had refused the invitation, and became the first billionaire in the country stand up to "all-out donation".
"Charity doesn't equal donation," Zong said. "I have a company with more than 30,000 employees to run, and the first step is to provide them with a good life, and then if possible, create more jobs for more people."
With a record of selling 38,000 bottles of water every minute, Zong insisted that his philanthropic cause should be like his drink business - quenching the thirst when needed, sustaining like flowing water and keeping a low profile. "Like the spring rain at night," he said, quoting a Chinese poem.
Zheng Minyu, director of the Zhejiang Industry and Commerce Bureau, said he thinks Zong's approach is pragmatic and that it fits the country's current situation.
"What Chen Guangbiao has done is, of course, very admirable," Zheng said, referring to Chen's public giving of money directly to recipients. "But we shall not make it a social norm for every other one to follow, as we won't encourage every soldier to sacrifice their lives in the war."
For Chen himself, what matters is not whether the action was high- or low-profile, but that action was taken. "Charity needs persistency and real actions," he said. "My ultimate goal is to attract more people to help others."
The first generation of Zhejiang businessmen is known for being diligent and thrifty, but by no means stingy.
Statistics from the Zhejiang Civil Affairs Bureau showed that businessmen from the area collectively donated 230 million yuan after the 7.1-magnitude earthquake in Yushu, Qinghai province, last year. In 2008, after the Wenchuan earthquake, donations from Zhejiang business owners reached 3.5 billion yuan, with material contributions worth an additional 650 million yuan.
According to the charity list released by Forbes China in April, nine businessmen from Zhejiang were among the top 100 donors from the Chinese mainland; the threshold was 14 million yuan. They altogether donated 340 million yuan, ranking sixth, after business owners from Guangdong, Fujian, Beijing, Liaoning and Jiangsu.

'Manage it wisely'
Jack Ma, the founder of world largest online shopping platform, Alibaba, agreed that doing charity should not be highlighted and that it relies on personal consciousness.
He was the only person from Zhejiang who attended Buffett and Gates' dinner, but Ma didn't promise to give away all his property.
He defended his decision by saying that Buffett made his decision to flow to the philanthropic cause at the age of 75. Most Zhejiang businessmen are now about 50, the age when Buffett was also busy creating wealth, instead of thinking how to handle it.
"If you have 1 million yuan, the money is yours and you can use it as you wish. If you have 10 million, it becomes capital and you should think about how to invest it. And if it accumulates to 100 million, it's your duty to manage it wisely, as it has become a common property," Ma said. "And I believe there is no other person who can manage it better than me."
Giving back
Sun Lijuan, the retired deputy secretary of Zhejiang Disabled Welfare Foundation, thinks the main problem with philanthropy lies in the fact that demand always exceeds supply. "We always focus on how much money these people donated. Instead, we should pay attention to how the money could be used to the fullest extent."
The Wang Zhentao Charity Foundation, named after the shoe magnate of Zhejiang's Aokang Group, may be a good example.
With initial capital of 20 million yuan, Wang has helped more than 1,000 university students finish their college degree studies, with the promise that after graduation, they will help to pay the tuition for another student for one year.
"Some of the kids are about to graduate this year and 5,000 yuan won't be a very heavy burden for fresh graduates, but it will continue to benefit more and more people," said Wang Hailong, the spokesman for Aokang. "Besides, it will also teach the younger generations to give back, creating a beneficent environment for society."
Zheng, the government director, believes that Zhejiang businessmen are smart enough to create their own way of spending the money decently, just as they managed to make it during the past three decades. "Once they are triggered, the power will be unmatched."
For Chen Guangbiao, who sang in Guizhou, the power is already evident. "A Guiyang businessman found me this morning, saying he is going to sell his BMW and buy some 1,000 bicycles for the local people."
(Source: China Daily
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Growing old by Lau Guan Kim.



My thoughts on growing old
Lau Guan Kim
25 Sept 2011

©2011. All rights reserved.


A survey showed more than two-thirds of Singaporeans did not take care of their old parents.

In many instances the children beat up their parents.

Getting old is lonely and you feel unwanted.

I say to myself I do not want a long life, but if I should live long, I must stay healthy, physically and financially, so that I would not be a burden to my children. People asked me why no one at home accompanied me to MRT and SBS. That is the last thing I want
happen to me. I just want to be self-reliant, with whatever small savings I have to see me and my wife through old age.

Thus, I always have a bag or backpack in my walk around the interchanges in MRT so I could shop in Carrefour or Isetan. Walking with an elbow crutch  soften the pain in my legs. I am realistic to know that this is what I must train myself and my wife to do. Our children have their lives to lead and taking care of children and family takes their time and energy.

Growing old can be humiliating, especially if you have no savings. Old people are neglected, and many are rejected. Being old is not an option for many; quite a fair section wish for an early death.

If sick, the old prefer euthanasia rather than being neglected.

The old have raised their children, but many are not being cared for.

Children who behaved thus to their old parents need to see the danger their own children are watching and will do the same to them.

Confucian ethics of filial piety is gone with modernisation.
-------------------------------------------------------------------------------------------------

Thaksin Shinawatra ( from Cambodia media)

Thaksin Shinawatra’s recent arrival in Cambodia held all the pomp and flair of an official state visit, with much of the Kingdom not-iceably enthralled by the fugitive former prime minister.

He was mobbed by the press, praised by Cambodian premier Hun Sen and swarmed by hundreds of Red Shirts who crossed the border to catch a glimpse of their de facto leader.

Indeed, Thaksin himself described Cambodia as “like my home”, the Post reported, returning the gushing adoration he’d received since his private jet touched down.

Most interesting about his visit, though, was the heavy focus on economics. Indeed, the Cambodian government insisted Thaksin was here only to talk business – in the truest sense of the word – and not politics, as everyone assumed.

“Thaksin has nothing do with state [issues], only business,” Council of Ministers spokesman Phay Siphan said yesterday.

“We don’t have any interest in Thaksin other than his ideas on economics.’’

Phay Siphan described Thaksin, the deposed billionaire accused of bending the Thai government to the benefit of his company, Shin Corp, as “just a lecturer”.

“We see him as an economist. We could say he’s an ASEAN economics guru.”

Thaksin’s visit was largely held behind closed doors, with his two “economics lectures” at the Asian Economic Forum at the Council of Ministers and the Ministry of Economy and Finance for the most part closed to the press.

As a result, very little is known of his outlook for Thailand, Cambodia or the region except for what was heard at the very beginning of his talks, to which the media was allowed access.

Regardless, it is worth considering Thaksin’s economic bona fides given the emphasis placed on his supposed expertise in this area.

Of course, he was known in Thailand for populist initiatives that enjoyed wide regard among the country’s rural class. But the question is whether or not those policies succeeded in ways that benefited Thailand as a whole.

Johannes Lund, Southeast Asia analyst at the Singapore consultancy Control Risks, says Thaksin’s results were “mixed”.

Lund claims the then-prime minister sought to strengthen the domestic economy and reduce Thailand’s heavy reliance on exports, but that did not happen.

“The country remains highly exposed to reduced demand among its primary export partners: the US, Japan, China and the EU,” he says.

Lund also notes that Thaksin failed to address long-term problems “that will be core to Thailand’s future success”, such as education reform and increased productivity in the agriculture sector.

He points to the price guarantee for rice presently being reintroduced by sister and new Prime Minister Yingluck Shinawatra, saying it was largely a failure that led to huge surpluses of rice and cost the government an estimated US$1.5 billion.

However, Thaksin was able to turn Thailand’s long-standing feud with Cambodia into a market opportunity, just as Yingluck is doing now. That business-centric policy no doubt created opportunities for both countries.

But the Cambodian economy is small, and any opportunities going forward are in the long-term future, Lund says.

In fact, he reckons Thailand views its eastern neighbour as, at best, a “potential long-term consumer”.

It’s for these reasons one might second- guess the notion that Thaksin is “an ASEAN economics guru”.

As Lund says in response to that idea, “His credentials as an economic wiz are pretty much self-fabricated.”


Contact Tom at tom.brennan@phnompenhpost.com.

สถานะการณ์น้ำท่วมช่วง๒๐วันของเดือนกันยายน ๒๕๕๔

ดินถล่มซ้ำที่อุตรดิตถ์-ลำน้ำชีทะลักท่วมร้อยเอ็ด
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

ฝนตกหนัก ดินถล่มซ้ำอีกครั้งที่บ้านห้วยเดื่อ จ.อุตรดิตถ์ ขณะที่ลำน้ำชีได้ไหลทะลักแนวกระสอบทรายป้องกันหมู่บ้านเข้าท่วมบ้านดินดำ จ.ร้อยเอ็ด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็ก วัด และนาข้าวจมน้ำเดือดร้อนหนัก
หลังจากเกิดเหตุดินโคลนถล่มที่ บ้านห้วยเดื่อ ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านมาไม่ถึง 20 วัน เมื่อคืนวานนี้ (25 กันยายน) จากฝนตกที่ตกหนักเกือบทั้งคืน ทำให้ดินโคลนบนภูเขาภูเมี่ยงกับภูทองเริ่มสไลด์ตัวลงมาอีก ต้นไม้ตามไหล่เขาโค่นล้ม ซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4-6 กิโลเมตร ชาวบ้านที่กำลังพักอาศัยอยู่ที่เต้นท์ชั่วคราว ต่างหวาดผวา ขนข้าวของหนีไปอยู่พื้นที่สูงที่โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ที่สุดที่จะอยู่รอดได้
 ขณะที่ น้ำชีจากจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ได้ไหลทะลักถึงพื้นที่อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมแนวกระสอบทรายที่นักเรียน และชาวบ้าน ได้ระดมทำเพื่อป้องกันไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้น้ำจำนวนมากได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 129 หลัง ท่วมโรงเรียนดินดำบัวรองวิทยา ชาวบ้านต้องพากันขนย้ายข้าวของไปอยู่ที่สูง จุดที่หนักสุดคือ ที่วัดบ้านดินดำที่น้ำท่วมสูงถึง 1-1.50 เมตร พระต้องจำวัดบนนกุฎิ ต้องพายเรือลุยน้ำออกไปบิณฑบาตร บางครั้งชาวบ้านต้องนั่งเรือมาถวายภัตตาหารถึงกุฎิ
 ส่วนนาข้าวที่กำลังสุก ก็เก็บเกี่ยวไม่ทัน จนน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงประมาณ 700 ไร่ นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่า ระดับน้ำคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจะท่วมอยู่ประมาณ 1-2 เดือน อีกทั้ง ได้เตือนหมู่บ้านที่ถัดจากหมู่บ้านดินดำให้เตรียมรับมือน้ำท่วมภายใน 1 ถึง 2 วันนี้
 เตือนพายุไห่ถางส่งผลไทยฝนตกหนัก 27 ก.ย.นี้
 ประกาศศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เรื่องเฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อน "ไห่ถาง" ปัจจุบันมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และ "เนสาด" ในมหาสมุทรแปซิฟิก
 พายุโซนร้อน "ไห่ถาง" ปัจจุบันมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดนครพนมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 800 กิโลเมตร อาจจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประมาณ วันที่ 27 กันยายน 2554 และจะส่งผลต่อประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก กับจะมีลมกระโชกแรง ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี และหนองบัวลำภู
  อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "เนสาด" ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ จะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ อาจจะเคลื่อนตัวมาถึงประเทศไทยในอีก 3-4 วัน ข้างหน้า จึงขอให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมระมัดระวังและติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติต่อไป
 ออกประกาศเมื่อเวลา 22.30 น. วันที่ 25 กันยายน 2554
  "ไห่ถาง" ความหมาย ผลไม้ชนิดหนึ่ง ประเทศที่มา คือ ประเทศจีน "เนสาด" ความหมาย ชาวประมง ประเทศที่มา คือ ประเทศกัมพูชา
น้ำชีล้นกระทบลิงพันตัว ที่วนอุทยานโกสัมพี 
ลิงแสมกว่าพันตัวขาดอาหาร หลังน้ำชีล้นท่วมวนอุทยาน ทำให้ฝูงลิงแสมหนีน้ำไปอาศัยอยู่บริเวณริมถนน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกรถชน
 แม่น้ำตามลำน้ำชีที่มีปริมาณสูง ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมในหลายพื้นที่ที่อยู่ติดฝั่งลำน้ำแล้ว ที่วนอุทยานโกสัมพี อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม น้ำไหลเข้าท่วมวนอุทยานทำให้ฝูงลิงแสมหนีน้ำไปอาศัยอยู่บริเวณริมถนน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกรถชน และอาจจะไปรบกวนชาวบ้าน เพราะแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ตามพื้นดินได้ถูกน้ำท่วมไปหมด
ขณะที่นักท่องเที่ยวเองก็ไม่สมารถเข้าไปในวนอุทยานได้ ทำให้ลิงแสมเก็บเศษขยะที่ลอยมากับน้ำกินประทังความหิว ขณะนี้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำชีได้ไหลบ่าเข้าท่วมวนอุทยานโกสัมพีสูงถึง 60 เซนติเมตร ซึ่งมีพื้นที่จำนวน 125 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยของลิงแสมกว่า 1,000 ตัว ซึ่งขณะนี้สามารถเข้ามาภายในวนอุทยานน้ำได้ท่วมขึ้นสูง ได้ล้นออกมาด้านหน้าวนอุทยานแล้ว นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวให้อาหารลิงไม่ได้ ทำให้ฝูงลิงแสมนับพันตัวกำลังอดอยาก จึงได้พากันอพยพมาอาศัยบนถนนด้านหน้าและด้านข้างของวนอุทยาน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกรถชนเป็นอย่างมาก บางตัวต้องอาศัยอยู่บนต้นไม้ และอาคารบ้านเรือนในละแวกนั้น
น้ำท่วมบางระกำยังวิกฤติ ผู้ว่าฯเร่งช่วย
 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ลงเรือพระราชทานนำถุงยังชีพออกให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยที่ถูกตัดขาดในพื้นที่ อ.บางระกำ
  นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยนางปิยธิดา เรืองจันทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด และคณะกรรมการเหล่ากาชาดได้ลำเลียงถุงยังชีพลงเรือพระราชทาน จำนวน 3 ลำ ที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานมาประจำ ณ อำเภอบางระกำ เพื่อใช้ในสำหรับการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ และเรือมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในหมู่ที่ 15 ตำบลบางระกำ ซึ่งถูกน้ำท่วมตัดขาดจากภายนอก โดยหมู่บ้านดังกล่าว มีราษฎรอาศัยอยู่กว่า 200 ครัวเรือน
 สำหรับบางพื้นที่ของตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ ถูกน้ำท่วมตัดขาดจากโลกภายนอกนับตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม ซึ่งชาวบ้านต้องใช้เรือพายเป็นพาหนะในการสัญจรไปมาจนกว่าปริมาณน้ำจะลดลง คาดว่า จะท่วมยาวไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน
 สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำยังทรงตัวอยู่ พื้นที่หลายหมู่บ้านยังคงถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เนื่องจากถูกน้ำท่วมสูงจนรถยนต์หรือรถประเภทอื่น ๆ ไม่สามารถสัญจรได้ตามปกติ
ผู้ใจบุญมอบเรือช่วย รร.วัดที่บางระกำ
 คณะผู้ใจบุญ มอบเรือพลาสติก จำนวน 10 ลำ ช่วยเหลือโรงเรียนและวัดใน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ถูกน้ำท่วม
 พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ พร้อมด้วย พระครูเกษม วาปีพิสัย เจ้าอาวาสวัดบึงกระดาน อ.เมือง จ.พิษณุโลก พร้อมด้วยคณะจาก บริษัทเกษตรพัฒนา ได้ร่วมกับ นายณัฐพล สารสาส บริษัทแคปปิตอล จำกัด ได้นำเรือพลาสติก จำนวน 10 ลำ ไปมอบให้กับโรงเรียน และวัด ที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนในการเดินทาง เนื่องจากระดับน้ำได้ท่วมสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา การเดินทางจะมีความลำบาก เพราะขาดแคลนเรือที่ใช้เป็นพาหนะ จึงได้นำไปมอบที่บริเวณ หน้าโรงเรียนวัดโพธิ์ทองเจริญผล หมู่ 1 ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก จำนวนกว่า 50,000 บาท
ทั้งนี้ มีวัดที่ได้รับการช่วยมอบเรือให้ จำนวน 3 วัด คือ วัดโพธิ์ทองเจริญผล วัดกรุงกรัก และ วัดแท่นนางงาม วัดละ 1 ลำ และโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมอีก 3 แห่ง คือ โรงเรียนวัดโพธิ์ทองเจริญผล โรงเรียนวัดกรุงกรัก โรงเรียนท่านางงาม และมอบชาวบ้านบางระกำ ที่ถูกน้ำท่วม อีก 1 ลำ โดยมี นายกฤตศรัณย์ รอสวัสดิ์ ผอ.โรงเรียนวัดโพธิ์ทองเจริญผล พร้อมกับเด็กนักเรียนจำนวนหนึ่ง ร่วมเป็นผู้รับมอบแทน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับโรงเรียนและวัดที่ถูกน้ำท่วมแห่งอื่นอีกครั้ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------